วันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2560

ภารกิจพิเศษ วิเคราะห์งานวรรณกรรมนิทาน เรื่อง นางสิบสอง
เรื่องย่อ
       เศรษฐีสองสามี ภรรยา อยู่กินกันมาไม่มีลูก จึงได้ขอลูกกับเทวดา จากนั้นมาไม่นานภรรยาของเขาก็ตั้งตั้ง แล้วคลอดลูกออกมาสิบสองคน เมื่อลูกทั้งสิบสองคนโตขึ้น ครอบครัวของพวกเขาก็เริ่มจนลงเรื่อยๆ สามีจึงคิดที่จะเอาลูกของตัวเองไปทิ้งไว้ในป่า ต่อมาไม่มานพวกนางก็ได้เจอกับนางยักษ์สารตรา แล้วนางยักษ์สารตราจึงเอาไปเลี้ยงเป็นลูกโดยที่ไม่รู้ว่านางนั้นเป็นยักษ์ อยู่มาวันหนึ่งนางสิบสองรู้ว่านางยักษ์สารตราเป็นยักษ์ พวกนางจึงพากันหนีออกจากเมืองของนางยักษ์สารตรา เมื่อนางยักษ์สารตรารู้นางจึงยกพลออกไปตามหานางสิบสอง  แต่ก็ไม่พบเพราะเทวดาในต้นไทรทองได้ช่วยเหลือเอาไว้ เมื่อพวกนางได้ออกเดินทางในป่าไปเรื่อยๆ
นางจึงได้เจอกับท้าวยาสิทธิ์ เจ้าเมืองขีดขิน พวกนางจึงได้เป็นมเหสีของท้าวยาสิทธิ์ เมื่อนางสารตรารู้นางจึงตามมาแก้แค้น โดยการแปลงกายมาเป็นผู้หญิงที่มีรูปร่างสวยงดงาม แล้วได้ขึ้นเป็นมเหสีของท้าวยาสิทธิ์ จากนั้นนางก็หาวิธีแก้แค้นนางสิบสอง นางได้นำตัวนางสิบสองไปไว้ในถ้ำแล้วควักลูกตาออก แต่นางเภาน้องคนสุดท้อง ถูกควักออกแค่ดวงเดียว แต่ตอนนั้นพวกนางได้ตั้งท้องอยู่ เมื่อพวกนางคลอดลูกออกมา ด้วยความหิวโหย พวกนางจึงกินลูกของตัวเอง แต่นางเถาน้องคนสุดท้องคลอดลูกชายออกมา จึงตั้งชื่อว่า ท้าวรถเสน นางได้ดูแลลูกชายจนโตเป็นหนุ่ม  ท้าวรถเสนเป็นผู้มีวิชาและความสามารถ ความเก่งกาจของท้าวรถเสนดังไปทั่วพระนคร เมื่อนางยักษ์สารตราได้ทราบข่าวนางจึงหาอุบายที่จะฆ่าท้าวรถเสน นางรู้อยู่แล้วว่าท้าวรถเสนจะไปเอาดวงตาของนางสิบสอง นางจึงหาอุบายให้ท้าวรถเสนนำสารไปส่งให้นางเมรีในเมืองทานตะวัน โดยในเนื้อความของสารนั้น นางได้เขียนว่า เมื่อพระรถไปถึงให้นางเมรีฆ่าเสียทันที ระหว่างการเดินทาง ฤๅษีได้แปลงสารให้กับท้าวรถเสนใหม่ ว่าเมื่อท้าวรถเสนไปถึงให้จัดงานแต่งทันที ทันทีที่ท้าวรถเสนไปถึงเมืองทานตะวัน นางได้เปิดอ่านสารจากนางสารตรา แล้วได้เห็นท้าวรถเสน นางจึงได้จัดงานแต่ง โดยไม่สนใจหมอโหรทำทายแต่อย่างใด อยู่กินกันมาไม่นาน ม้าของท้าวรถเสนเตือนให้รีบนำดวงตากลับไปให้นางสิบสอง ท้าวรถเสนจึงหนีออกจากเมืองไป เมื่อนางเมรีตื่นมาไม่เจอท้าวรถเสนนางจึงออกตามหา แล้วได้ไปเจอกับท้าวรถเสนที่ริมสระน้ำ นางร่ำไห้จนเหนื่อยล้าพร้อมกับเหนื่อยจากการเดินทาง นางจึงสิ้นลมหายใจไปในที่สุด ท้าวรถเสนได้แต่โศกเศร้าเสียใจในสิ่งที่ตัวได้ทำ จากนั้นท้าวรถเสนก็ได้เดินทางไปเอาตาไปให้นางสิบสองได้สำเร็จ พวกนางได้กลับมามองเห็นอีกครั้ง แล้วรถเสนก็ได้ฆ่านางสารตราตายในที่สุด
ที่มาและความสำคัญ
        เรื่องนางสิบสอง หรือพระรถ-เมรี ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นนิทานพื้นบ้านของไทย เป็นวรรณกรรมที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย มีกันเล่าสืบๆ กันมาแบมุขปาฐะ แล้วจึงมีการเรียบเรียงขึ้นเป็นเรื่องหนึ่งใน ปัญญาสชาดกโดยพระเถระชาวเชียงใหม่  แต่เค้าโครงเรื่องของพระรถเมรีนี้มีความคล้ายคลึงกับนิทานบ้านชาติต่างๆ อาทิ อินเดีย ลังกา ไทยใหญ่ เขมร พม่า ลังกา ลาว และ อาหรับ เป็นต้น
ต้นฉบับมาจาก นิทานสำราญเล่มแปด ซึ่งเป็นภาษาไทยภาคกลางแต่งไว้ แต่มาดัดแปลงเป็นกลอนอีสาน เพื่อให้ภาคอีสานได้อ่านและเข้าใจง่าย
ผู้แต่ง : น้อย ผิวผัน
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๐๕
จัดพิมพ์ :  บริษัท คลังนานาธรรมจำกัด
จำหน่ายที่ :  บริษัท คลังนานาธรรมจำกัด ๑๖๑/๖- .กลางเมือง ต.ในเมือง อ.เมือง
.ขอนแก่น ๔๐๐๐๐ โทร ๐๔๓-๒๒๑๕๙๑,๒๒๑๓๔๖กด  แฟกซ์ ๐๔๓-๒๒๓๔๘๒ 
วิเคราะห์เนื้อเรื่อง
         ๑. วิเคราะห์ชื่อเรื่อง 
                เรื่องนางสิบสอง ผู้แต่งตั้งชื่อตามตัวละครหลักที่เป็นตัวดำเนินเรื่อง แต่เป็นการตั้งชื่อทางอ้อมเท่านั้น

         ๒. แก่นเรื่อง  ความซื่อสัตย์กตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณย่อมเป็นสมบัติของคนดี

         ๓. โครงเรื่อง

                การเปิดเรื่อง
                    - เรื่องนางสิบสองมีการเปิดเรื่องโดยผู้แต่งเป็นคนเล่าดำเนินเรื่อง โดยกล่าวถึงเศรษฐีที่อยากมีลูกแล้วมีลูกสิบสองคน

               ปมของเรื่อง
                   - เศรษฐีเลี้ยงลูกทั้งสิบสองคนไม่ไหวทำให้ยากจน จึงนำลูกทั้งสอบสองคนไปปล่อยทิ้งในป่า นางยักษ์สารตราจึงเก็บไปเลี้ยงดู

               จุดสูงสุดของเรื่อง
                  - นางสิบสองหนีนางยักษ์ออกมาจากเมือง ทำให้นางยักษ์โกรธ จนนำไปสู่การแก้แค้นพยาบาท

               คลายปม
                 - พระรถนำดวงตาของแม่และป้าๆทั้งสิบสองคนมาคืนให้ได้สำเร็จ

               จุดจบของเรื่อง
                 - นิทานเรื่องนางสิบสองปิดเรื่องแบบโศกนาฏกรรมของความรัก คือทั้งพระรถและนางเมรีนั้นตาย นางเมรีตายเพราะเดินทางตามพระรถจนหมดแรงจนทำให้สลบและก็ตาย ส่วนพระรถนั้นตรอมใจตายเพราะคิดถึงนางเมรี

         ๔. วิเคราะห์ตัวละคร 
              ตัวละครหลัก              - นางสิบสอง  เพศ หญิง
                            สถานะ ไม่ปกติ
                            ลักษณะ รูปร่างหน้าตาสวย แต่โดนนางยักษ์ควักลูกตาทำให้กลายเป็นคนพิการ
                             ฐานะ  ลูกเศรษฐี เป็นมเหสีของท้ายยาสิทธิ์

             - ท้ายยาสิทธิ์  เพศ ชาย
                             สถานะ ปกติ
                             ฐานะ เป็นเจ้าเมืองขีดขิน

             - นางยักษ์สารตรา เพศ หญิง
                                    สถานะ ไม่ปกติ
                                    ลักษณะ ตัวใหญ่มีเขี้ยว
                                    ฐานะ เป็นยักษ์ปกครองเมืองทานตะวัน

             - พระรถ    เพศ ชาย
                        สถานะ ไม่ปกติ
                        ลักษณะ รูปร่างหน้าตาหล่อ  เก่งเรื่องของไก่ชน
                        ฐานะ เป็นลูกของเจ้าเมือง

             - นางเมรี  เพศหญิง
                       สถานะ ไม่ปกติ
                       ลักษณะ  รูปร่างสวยแต่เป็นยักษ์
                       ฐานะ ปกครองเมืองทานตะวันแทนนางยักษ์
            ตัวละครรอง
                   เทวดา เทพผู้ปกปักษ์รักษาตันไทรทอง
                   วิศณุกรรม เทวดาที่แปลงเป็นไก่ของพระรถ
                   มาตุลี เทวดาที่แปลงเป็นเหยี่ยวมาช่วยนางสิบสอง
       .  ฉากสถานที่
            ฉากหลัก คือ ป่า
                 นางสิบสองถูกทิ้งให้อยู่ในป่า แล้วพบกับนางสารตรา และท้าวยาสิทธิ์ จากนั้นก็ได้มาใช้ชีวิตที่ตาบอดอยู่ถ้ำในป่า จนได้ดวงตาคืนแล้วได้กลับเมือง
            ฉากรอง คือ เมืองขีดขินและเมืองทานตะวัน
                -    นางยักษ์สารตราเก็บนางสิบสองไปเลี้ยงไว้ที่เมืองทานตะวัน
           
-      นางสิบสองได้เป็นมเหสีในเมืองขีดขิน  
                -     ท้าวรถเสนเจอกับนางเมรีและแต่งงานกันที่เมืองทานตะวัน

       ๖ความโดดเด่นของวรรณกรรม 
                ด้านเนื้อหา จะสะท้อนให้เห็นถึงบาปบุญคุณโทษ เช่น บาปที่นางสิบสองไปร้อยตาปลา ส่งผลให้ถูกนางยักษ์สารตราควักลูกตาออก และความกตัญญูกตเวทีกับผู้มีพระคุณของท้าวรถเสนจนทำให้ชีวิตได้กับไปมีความสุขอีกครั้ง แต่ก็มีความโศกเศร้าเพราะรัก
                ด้านตัวละคร  ในเรื่องนางสิบสอง ตัวละครจะเป็นตัวดำเนินเรื่อง และตัวละครนั้นจะมีจุดเด่นเป็นของตัวเอง ตัวอย่าง
           
- นางเภา จุดเด่นก็คือ ความฉลาด
           
- ท้าวรถเสน จุเด่นคือ ความเก่งกาจ รูปหล่อ มีความสามารถ
              ด้านการใช้ภาษา ในเรื่องนางสิบสอง ผู้แต่งใช้ภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ของอีสานและใช้ท่วงทำนองที่เป็นคำกลอนมาใช้ในการแต่ง มีการเล่นสัมผัสระหว่างวรรค
เมื่อผู้อ่านได้อ่านแล้วทำให้เหมือนได้ร้องหมอลำ

การนำไปประยุกต์ใช้
          .  ละครพื้นบ้าน
                        


หนังสือนิทาน




. วรรณคดีก่อนนอน

. สมุดภาพระบายสี

. การ์ตูนแอนิเมชั่น

. ลำเรื่องต่อกลอน


สร้างสรรค์สื่อประกอยการเรียนการสอน
-          ภาพวาดตัวละคร เรื่องนางสิบสองจากจินตนาการ


สรุป ภาพ Infographics